การพิมพ์ผ้า
สกรีนสีน้ำ (Water-Base Screen)
1. สกรีนน้ำแบบสีจม - คุณสมบัติของสีชนิดนี้ เนื้อสีจะมีความละเอียดและเนียนไปกับเนื้อผ้า เพราะตัวสีสกรีนสามารถซึมลงไปถึงเส้นใยของผ้า ซึ่งเนื้อสีจะมีความโปร่งจนแทบเป็นเนื้อเดียวกับเนื้อผ้า
ผ้าที่เหมาะสม: สามารถพิมพ์เฉพาะบนผ้า Cotton และ Polyester เฉพาะสีอ่อน ขาว ชมพู ฟ้าอ่อน
2. สกรีนน้ำแบบสีลอย - คุณสมบัติของสีชนิดนี้ ความละเอียดจะน้อยกว่าสีจม ทำให้สีเกาะติดอยู่บนเส้นใย ต่างกับสีจม ทำให้เกิดความหนาของเนื้อสี เมื่อสัมผัสแล้วจะมีเนื้อสัมผัสของสีอยู่
ผ้าที่เหมาะสม: สามารถพิมพ์เฉพาะบนผ้า Cotton และ Polyester
สกรีนสียาง (Rubber-Base Screen)
การพิมพ์แบบสียางเหมาะสำหรับงานหลายประเภท เพราะสีชนิดนี้สามารถพิมพ์ลงบนผ้าได้ทุกชนิด ข้อแตกต่างของการพิมพ์สียางนั้น คือจะมีความหนาขึ้นมา ทั้งนี้ระดับความนุ่มและเรียบจะขึ้นอยู่กับเกรดของสียาง ซึ่งการสกรีนยางเหมาะแก่การพิมพ์ลายที่ต้องการเนื้อสัมผัสที่ดูเด่น เช่น การพิมพ์เป็นตัวอักษรที่ต้องการความเด่นชัด ไม่แนะนำให้ใช้สียางกับงานที่ลวดลายมีความละเอียดสูง
ผ้าที่เหมาะสม: สามารถพิมพ์บนผ้าได้ทุกชนิด
การพิมพ์นูนมีข้อแตกต่างหลักที่ชัดเจนจากการพิมพ์แบบอื่น คือเมื่อพิมพ์งานออกมาเนื้อยางจะดูมีความเด่นชัดจากตัวเนื้อผ้า ทำให้คล้าย 3 มิติและมีเนื้อสัมผัสเวลาจับบนลวดลาย ทำให้เหมาะกับการทำลวดลายที่เน้นความเด่นของงาน แต่จะไม่เหมาะกับลายที่มีความละเอียดสูง เพราะอาจจะทำให้ลวดลายผิดเพี้ยนได้
ผ้าที่เหมาะสม: สามารถพิมพ์บนผ้าได้เกือบทุกชนิด เช่น Cotton, Polyester, Nylon
พิมพ์นูน (Bold Additive)
การพิมพ์เม็ดสีเหมาะที่สุดสำหรับงานลวดลายที่มีความละเอียดหรือลวดลายที่มีการเล่นไล่สี เพราะเม็ดสีจะสามารถทำให้ลวดลายที่พิมพ์ออกมาค่อนข้างมีความเหมือนจริงที่สุด และไม่จำเป็นต้องรองพื้นก่อน เวลาจะสกรีนลงบนผ้าสีเข้ม และสามารถทำให้ลวดลายมีความเสมือนจริงและมีความนูนขึ้นมาเล็กน้อย ซึ่งต่างจากการพิมพ์สีน้ำที่เรียบเนียน
ผ้าที่เหมาะสม: สามารถพิมพ์บนผ้า Cotton, Polyester
สกรีนเม็ดสี (Offset Printing)
Flex Printing
การนำตัวงานพิมพ์มารีดความร้อนกดทับลงบนเสื้อ ซึ่งตัวเนื้อมีลักษณะคล้ายฟิล์ม (เหมือนสติกเกอร์) ที่ต้องใช้งานร่วมกับเครื่องรีดความร้อน เครื่องตัดสติกเกอร์ และเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท
ตัวอย่างเช่น เบอร์เสื้อกีฬา logo sponsor กลางเสื้อ เป็นต้น ซึ่งถ้าเป็นเมื่อก่อนจะนิยมใช้กับเสื้อกีฬามากกว่า แต่ในปัจจุบันเริ่มเป็นที่นิยมใช้กับเสื้อแฟชั่นทั่วไป เพราะตัว Flex เองมีลูกเล่นเนื้อ สี ที่หลากหลายแบบเช่น สีReflect, สีสะท้อนแสง เป็นต้น
ผ้าที่เหมาะสม: สามารถพิมพ์บนทุกเนื้อผ้า
พิมพ์แบบระเหิด (Sublimation Printing)
เป็นการพิมพ์ลายลงบนผ้าโดยตรง ซึ่งเหมาะสำหรับการพิมพ์เสื้อทั้งตัว โดยสามารถทำลวดลายได้ค่อนข้างละเอียดมากๆ ส่วนใหญ่จะใช้ทำกับเสื้อกีฬา หรือผ้า TK TC จะทำให้สีคมชัด
จะเน้นการพิมพ์ลงบนผ้าสีขาวและย้อมออกมาเป็นสีทั้งตัว (จุดสังเกตเมื่อเราพลิกเสื้อข้างในจะเห็นเป็นสีขาวอยู่) งาน Sublimation จะไม่เหมาะทำบนผ้า Cotton 100% เพราะสีที่ออกมาจะดรอปและไม่ชัดเจนเท่าที่ควร
ผ้าที่เหมาะสม: สามารถพิมพ์บนผ้า Polyester, ผ้าTK, ผ้า TC
สกรีนดิจิตอล DTG (Direct To Garment Printing)
การสกรีนแบบ DTG หรือ Direct to Garment Printing จะเป็นการพิมพ์สีลงไปบนผ้าโดยตรง ทำให้สีมีความคมชัด แต่จะไม่ซึมลงบนเนื้อผ้า เหมาะสำหรับงานที่ใช้สีค่อนข้างเยอะและงานที่มีความละเอียดสูงมาก
ตัวอย่างเช่น การสกรีนรูปถ่ายหรือภาพลงบนเสื้อ เป็นกระบวนการสกรีนเสื้อที่สกรีนภาพออกมาได้ดีที่สุดแล้วในปัจจุบันนี้ แต่จะมีราคาที่ค่อนข้างสูง
ผ้าที่เหมาะสม: สามารถพิมพ์บนผ้า Cotton 100% เท่านั้น